ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์

ประวัติความเป็นมาเครือข่ายคนปลูกข้าวลุ่มน้ำโขง

ที่มา
        เครือข่ายคนปลูกข้าวก่อกำเนิดจากองค์กรสตรีเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งในอำเภอสุดชายแดน ติดชายฝั่งลุ่มน้ำโขง ชื่อกลุ่มสตรีเหมือดแอ่ ซึ่งเกิดแนวความคิดแนวทางงานกัน ทำกิจกรรมกลุ่ม ขยัน ศึกษาหาความรู้  สร้างแผนพัฒนาตนเองขึ้นมา 3 ปี  จนพึ่งพาตนเองได้ ก่อกำเนิด  เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 รวมกลุ่มทำกิจกรรมจนเป็นที่รู้จักคือ  การผลิตลวดหนามด้วยมือ ขึ้น จึงได้ร่างแผนงาน  พัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มโดยยึดเอาแนวทาง พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง



เริ่มต้นทฤษฎีขั้นที่ 1 ร่วมกลุ่มทำกิจกรรมกันจนเข้มแข็ง

ขั้นที่ 2 ขยายผลสู่องค์กรชุมชน   เป็นเครือข่ายประชาชน  เพื่อเป็นแนวทางการต่อสู้จนประสบผลสำเร็จที่ปรึกษากลุ่มท่านอาจารย์ทองสวน  โสดาภักดิ์  ได้ศึกษาแนวทางของชุมชนพึ่งตนเองของชุมชนราชธานีอโศก ซึ่งยึดแนวทางพึ่งตนเอง  ยึดวิถีชีวิตแนวทางชาวพุทธ  ซึ่งได้นำแนวทาง  หลักคิดขยายผลภายในกลุ่ม  ยึดวิธีคิดใช้ชีวิตแบบไทย ๆ ได้ตุ้มโฮมคน  แลกเปลี่ยนสัมมนาเมื่อวันที่  30 ตุลาคม  2542  หมู่บ้านละ  5 คน มาร่วมสัมมนาภายใต้ “ชาวนาต้องกำหนดราคาข้าวด้วยตนเอง”

        หลังจากนั้น  ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีคิดของกลุ่มนี้  และมาบวกกับทางองค์กรสตรี ก็ได้ประสานงานกัน  จัดสัมมนาขึ้นเมื่อ วันที่ 12-13  พฤศจิกายน  2542 ภายใต้ “สตรีไทยยุคใหม่ก้าวไกลเศรษฐกิจ” จาก 32 กลุ่ม จุดประกายและสร้างเครือข่ายชื่อว่า “เครือข่ายสตรี ลุ่มแม่น้ำโขง”  และในงานสัมมนา มีนางนภาพร อุ่นชัย  จากองค์กรสตรีนายูง ได้เสนอแนวทางโรงสีชุมชนขึ้น ซึ่งถืvเป็นการจุดประกายจากนั้นมาเมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน  2542  กลุ่มคนปลูกข้าวผสมเครือข่ายสตรี  แลกเปลี่ยนความคิดจนได้ข้อยุติร่วมกัน  จัดตั้งเครือข่ายคนปลูกข้าวลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเหตุจำเป็นที่ใช้ชื่อนี้คือ “นำปัญญาที่เหมือนกันมาร่วมกัน” ซึ่งที่ประชุมได้เลือก คุณสมาน  บำเพ็ญ  เป็นประธานเครือข่าย  ซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวทางความคิด  เป็นฐานรากหญ้าที่ดีคนหนึ่ง กิจกรรมที่เริ่มตุ้มโฮม  คือ บุญกุ้มข้าวใหญ่  ซึ่งถือเป็นประเพณีของเครือข่ายคนปลูกข้าว  หลังจากนั้นได้มีเวทีสัมมนา เมื่อวันที่  20 ธันวาคม 2542  จัดเวทีโรงสีชุมชนประชาคมหมู่บ้าน “โรงสีใหญ่คือ  หัวใจของชาวนาจริงหรือ” ซึ่งข้อยุติได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเริ่มแรกแกนนำ โดย อ.ทองสวน  โสดาภักดิ์ พ่อชาลี  ปัดนา คุณพ่อสมาน  บำเพ็ญ  และคณะได้ปรึกษาแนวคิดที่  โรงสีธรรมชาติ  โสกขุมปูน  แล้วนำความคิดมาขยายในหมู่สมาชิก  และส่งคนไปศึกษาอยู่หลายครั้ง  และมาประจวบเหมาะ  เมื่อกองทุนชุมชนให้การสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ดูงาน 82,000.- บาท  ทางเครือข่ายจึง  คิดค้นโรงสีเป็นเรื่องหลัก ประมาณ  1 ปีเต็มซึ่งคิดว่าตนเองมีภูมิปัญญาที่จะสามารถบริหารจัดการได้ จึงได้เสนอโครงการ โรงสีชุมชนสัมพันธ์ขึ้น
       ซึ่งได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจนถึงขณะนี้เมื่อประสบผลสำเร็จ  ได้งบประมาณสร้างโรงสีสีข้าว เครือข่ายก็ขยายผล  แนวทางความสัมพันธ์กัน  เอื้ออาทรต่อกัน  จัดกิจกรรมร่วมกัน  พอสังเขป  ดังนี้
                -ลงแขกทำนาตุ้มโฮม
                -บุญสู่ขวัญกุ้มข้าวใหญ่
                -ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์
                -ปั๊มน้ำมันชุมชน
                -ร้านค้าชุมชน
                -การออมทรัพย์พึ่งตน
                -วิสาหกิจชุมชน
                -สหกรณ์ประชาชน
                ปัจจุบันทางสหกรณ์มีสมาชิกทั้งปลูกผัก  ผู้แปรรูป ผู้บริโภคอยู่ร่วมกัน  และเปิดรับสมาชิกตลอดมา เพื่อมาร่วมกระบวนการเรียนรู้สร้างงาน  สร้างรายได้  สร้างความสัมพันธ์  คืนความเป็นไทยให้คนปลูกข้าว  และเพื่อเป็นแนวทางเครือข่ายสู่ความมั่นใจ  มั่นคงของสมาชิก  และสมบัติทั้งหลายทั้งปวง  เป็นสาธารณสมบัติของคนทุกคน

เข้าสู่ทฤษฎีขั้นที่ 3 ของแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง  จึงได้จดทะเบียน สหกรณ์ ขึ้นชื่อว่า “สหกรณ์การเกษตรพลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง  จำกัด” ที่ใช้สตรีนำ  เพื่อให้เกียรติแก่องค์กรเล็ก ๆ กลุ่ม หนึ่งที่เสียสระด้วยเลือดเนื้อและชีวิต  ทุ่มเทงานมวลชนเพื่อองค์กรมั่นคง  ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะสร้าง  “ครอบครัวอบอุ่น องค์กรมั่นคง  ประชาชนเข้มแข็ง  สังคมสันติสุข”  ทุกชีวิตอยู่ร่วมกัน  ภายใต้การจัดสวัสดิการร่วมกัน  อย่างสันติธรรม

                สหกรณ์การเกษตรพลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง  จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 14 ปี  ณ วันที่ 30 เมษายน 2558 มีสมาชิกทั้งสิ้น  1,118   คน 



ลักษณะและโครงสร้างการจัดรูปองค์กรของสหกรณ์
            สหกรณ์การเกษตรพลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง  จำกัด เป็นสหกรณ์การเกษตรขนาดเล็กดำเนินธุรกิจในรูปเชื่อมโยงผสมผสานสิ้นเชื่อ สินเชื่อเพื่อการผลิตและสิ้นเชื่อเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะอาดให้สอดคล้องซึ่งกันและกันโดยอยู่บนพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์  สมาชิกแต่ละคน เป็นเกษตรตามหมู่บ้านต่างๆ ทุกตำบล สมาชิกเป็นเป็น 2 ลักษณะ คือ
                1.ด้านการบริการงานแบ่งกลุ่มตามเขตพื้นที่ได้ 18 กลุ่ม ตามตำบลต่าง ๆ
                2.ด้านการดำเนินธุรกิจ  ตามลักษณะการทำนา เป็นนาทั่วไป นา GAP แลนาอินทรีย์

สินค้าสหกรณ์การเกษตรพลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง  จำกัด
1.พันธ์ข้าวอินทรีย์
2.ข้าว GAP
3.ข้าวอินทรีย์
4.ปุ๋ยอินทรีย์

มาตรฐานใบรับรองต่างๆ ของผลิตภัณฑ์
1.OTOP
2.มาตรฐานการรับรองข้าว GAP
3.มาตรฐานข้าวอินทรีย์
4.มาตรฐานระบบโรงสี GMP

ที่อยู่สหกรณ์การเกษตรพลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง  จำกัด
153  หมู่ 17 บ้านนางาม ตำบลขามป้อม  อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 34170
โทร 081-9976612  ผู้จัดการสหกรณ์


E-maril satreelumnamkhong@hotmail.com


ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon
ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon

ข้าวอินทรีย์อุบล ข้าวออแกนิก ออแกนิกไรซ์อุบล ข้าวอินทรีย์ organicriceubon organnicrice organicriceubon